ย้อนรอยเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ วันเปื้อนเลือดที่คนไทยทุกคนไม่มีวันลืม

เชื่อว่าประเทศไทยเรามีประวัตศาสตร์อันยาวนาน ผ่านเรื่องราวเหตุการณ์ทั้งที่ดีและไม่ดีมากมาย และหนึ่งในเหตุการณ์ที่คนไทยจำฝังใจไม่มีวันลืม นั่นคือเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ นั่นเอง

เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี

สาเหตุของเหตุการณ์นั้นสืบเนื่องมาจากการหวนกลับมาของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเดินทางกลับมาจากประเทศจีน โดยมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าเพราะเหตุใด จอมพลถนอมถึงต้องการเดินทางกลับมายังประเทศไทย บ้างก็กล่าวว่าเพื่อให้เป็นไปตามแผนของการทำรัฐประหาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวจอมพลถนอมเองได้กล่าวว่าต้องการกลับมาบ้านเกิดโดยไร้แรงจูงใจทางการเมืองใดๆ และต้องการกลับมาในฐานะคนแก่คนหนึ่งเท่านั้น

แต่การกลับมาในครั้งนี้สร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลหลายฝ่าย ถึงแม้ว่าจอมพลถนอมตั้งใจลาบวช โดยพิธีดำเนินไปอย่างลับๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีกลุ่มคนไม่น้อยที่ไปคัดค้านการบวช จากนั้นมีวิทยุยานเกราะตักเตือนมิให้นักศึกษาก่อความวุ่นวาย มิฉะนั้นอาจต้องมีการประหารชีวิตสัก 30,000 คนเพื่อให้บ้านเมืองรอดปลอดภัย

มีรายงานกล่าวว่าการที่จอมพลถนอมสามารถกลับมายังประเทศไทยได้นั้น ได้ผ่านการขออนุญาตจากพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนี่คือข้อกังขาว่าจอมพลถนอมเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ก็มีเหล่านักศึกษานักศึกษาประท้วงการกลับของจอมพลถนอมที่สนามหลวงในวันที่ 30 กันยายน แต่ไม่นานการประท้วงย้ายไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ใกล้เคียงแทน มหาวิทยาลัยยกเลิกการสอบและปิดวิทยาเขต ด้วยหวังไม่ให้เกิดเหตุตำรวจอาละวาดซ้ำรอยเมื่อปีกลาย ทว่า ผู้เดินขบวนพังประตูเข้าไปยึดวิทยาเขตและยึดพื้นที่ประท้วง สหภาพแรงงานสี่สิบสามแห่งเรียกร้องให้รัฐบาลเนรเทศจอมพลถนอมมิฉะนั้นจะนัดหยุดงานทั่วไป การประท้วงคราวนี้ยิ่งกว่าคราวที่จอมพลประภาสกลับมาเสียอีก ส่วนฝ่ายรัฐบาลเห็นควรยับยั้งไว้แต่ก็ไม่เป็นผล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นส่วนตัวว่า รัฐบาลไม่อาจเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยหรือไม่ให้กลับสู่ประเทศไทยได้ ในวันที่ 1 ตุลาคม ฝ่ายขวารวมกันออกแถลงการณ์ว่า “ได้ปรากฏแน่ชัดแล้วว่า ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นักศึกษา สภาแรงงานแห่งประเทศไทย และนักการเมืองฝ่ายซ้ายถือเอาพระถนอมมาเป็นเงื่อนไขสร้างความไม่สงบขึ้นภายในประเทศชาติถึงขั้นจะก่อวินาศกรรมทำลายวัดบวรนิเวศวิหาร และล้มล้างรัฐบาล

คืนวันที่ 5 ตุลาคมต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม กำลังฝ่ายต่อต้านนักศึกษาเคลื่อนขบวนไปยังบริเวณท้องสนามหลวงช่วงหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเริ่มมีการปะทะกันด้วยอาวุธปืนเบา ในการประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งจัดขึ้นเมื่อเช้าวันนั้น มีการแถลงว่า ถึงเวลาแล้วที่จะขจัดขบวนการนักศึกษาเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา มีการยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ลงกลางสนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ตำรวจตระเวนชายแดนปิดทางออกทั้งหมดเมื่อเวลาประมาณ 7 นาฬิกา รถบรรทุกของพุ่งเข้าชนประตูใหญ่และตำรวจเร่งรุดเข้าไปในมหาวิทยาลัยเมื่อเวลาประมาณ 11 นาฬิกา นักศึกษาหลายคนที่ติดอาวุธเปิดฉากยิง แต่พ่ายไปในเวลาอันสั้น แม้ว่านักศึกษาจะร้องขอให้หยุดยิง แต่พลตำรวจเอก ชุมพล ผู้บัญชาการตำรวจ อนุญาตให้ยิงเสรีในมหาวิทยาลัย

นักศึกษาและประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทั้งชายหญิงราว 1,000 คน ถูกบังคับให้ถอดเสื้อนอนลงกับพื้น (แม้ผู้หญิงยังได้รับอนุญาตให้สวมยกทรง) บังคับให้คลานไปตามพื้นสนามหญ้า ทั้งถูกเตะต่อยและรุมทำร้าย หลายคนถูกทุบตีจนเสียชีวิต มีการแขวนศพผู้ที่เสียชีวิตแล้วไว้กับต้นไม้ริมสนามหลวงแล้วเตะต่อย ทั้งถุยน้ำลายรดและตะโกนด่าสาปแช่ง มีการนำศพทั้งผู้ที่เสียชีวิตแล้วและบาดเจ็บสาหัสมาเผาสด ๆ ด้วยยางรถยนต์ มีการตบตีและปล้นทรัพย์สินส่วนตัว จากนั้นตำรวจยิงปืนกลข้ามหัวนักศึกษาเข้าไปในตึกคณะบัญชี เย็นนั้น กลุ่มนวพลบางคนอวดเพื่อนว่า ตน “ล้วงผู้หญิงตามสบาย” ผู้พยายามกระโดดหนีลงแม่น้ำเจ้าพระยาถูกยิงจากเรือของกองทัพเรือ นอกจากนี้ยังมีการเผาทั้งเป็น ตอกไม้ทิ่มศพ ใช้ไม้ทำอนาจารกับศพผู้หญิง หรือปัสสาวะบนศพ มีนักศึกษาแพทย์และพยาบาลที่เป็นสมาชิกหน่วยอาสาสมัคร “พยาบาลเพื่อมวลชน” ถูกฆ่าตาย 5 คน การสังหารหมู่ดำเนินไปถึงเที่ยง