สกว. ร่วมมือ กยท. สร้างแนวทางวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพารา

หากพูดถึงการเกษตรของภาคใต้คงไม่พ้นเรื่องของการผลิตและจำหน่ายสินค้าอย่างยางพารา ที่เป็นช่องทางของการสร้างรายได้หลัก ๆ อีกหนึ่งช่องทางของชาวใต้เลยก็ว่าได้ แต่ยางพาราเองก็เหมือน ๆ กับสินค้าทางการเกษตรอื่น ๆ เช่นกัน

ในส่วนของราคาที่มีข่าวออกมาให้เราได้อ่านได้ฟังกันอยู่ทุก ๆ ปี ถึงเรื่องของราคายางพาราตกต่ำทำให้ชาวสวนยางขาดทุน เรื่องของผลผลิตน้ำยางมากเกินไป น้อยเกินไป หรือเรื่องของน้ำยางที่ด้อยคุณภาพ ส่งผลกระทบไปยังภาคของอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราไปด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าส่งผลกระทบกันเป็นทอด ๆ สรุปก็คือทำให้มีผลกระทบต่อรายได้นั่นเอง ปัญหาที่วนลูปเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ก็มีหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพยายามหาวิธีแก้ไขกันมาอยู่ตลอดอย่างต่อเนื่องด้วยหลากหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งนอกจากการดูแลบำรุงต้นยางให้ดีเพื่อแก้ปัญหาเรื่องของคุณภาพแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เห็นตรงกันในส่วนของรายได้นั่นคือ การเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้ายางพารานั่นเอง โดยตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยหรือ สกว. ได้ดำเนินการให้ความร่วมมือสนับสนุนเรื่องของการวิจัยยางพารามาโดยสม่ำเสมอ และในช่วง  4 – 5 ปี ที่ผ่านมา ทั้งสกว. คอบช. (องค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ) และ วช. (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) ได้มีความรู้จนก่อการพัฒนานวัตกรรมอันเป็นโยชน์มากมายจากการทำวิจัยที่พุ่งเป้าโดยตรง

สร้างเครือข่ายจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยยางพารา พ.ศ. 2560 – 2564

                เนื่องจากราคาของสินค้าแปรรูปจากยางพาราของไทยที่จะสามารถช่วยสร้างรายได้มีเพียงแค่ไม่ถึง 20% เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยของเราสามารถผลิตน้ำยางพาราได้จำนวนมากแท้ ๆ แต่เพราะจากผลผลิต 100% เราเลือกขายเป็นน้ำยางสด ๆ ไปเลยถึง 80% ซึ่งราคาของน้ำยาง จะถูกกว่าแบบที่แปรรูปแล้ว ฉะนั้นการคิดเพิ่มมูลค่าให้แก่ยางพาราจึงต้องไปในรูปแบบของสินค้าแปรรูปแล้ว ทาง กยท.หรือการยางแห่งประเทศไทยจึงร่วมลงนาม การวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมยางพาราไทย กับ สกว. จุดประสงค์เพื่อทำการวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะสามารถช่วยเรื่องของอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราให้มีประสิทธิภาพ เกิดสินค้าทางยางพาราแปลกใหม่ที่น่าสนใจยิ่งขึ้น โดยแผนยุทธศาสตร์การวิจัยนี้จะเป็นช่องทางความสะดวกของการลงทุน ศึกษาเรื่องความคงทนของยาง ศึกษาในเรื่องของการตลาดด้านอุตสาหกรรมด้านการนำยางพาราไปใช้มากขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ในประเทศไทยนำยางพาราไปใช้ในทุกภาคส่วนมากกว่าเดิมด้วย การร่วมมือในครั้งนี้จึงถือเป็นการริเริ่มต่อยอดสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยแก้ปัญหายางพาราของไทยนั่นเอง