ทำไมปัจจุบัน หลาย ๆ คน อยากมีอาชีพอิสระ เป็นฟรีแลนซ์

มนุษย์เงินเดือนหลายคนอยากมีอาชีพอิสระ แสวงหาช่องทางเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือที่เราเรียกกันว่า “ฟรีแลนซ์” เพราะความเหนื่อยหน่ายกับกฎเกณฑ์จนไม่อยากทำงานประจำอีกต่อไป แถมเหล่าฟรีแลนซ์สามารถเลือกเวลาทำงานและวันหยุดได้ ไม่ต้องการอยู่ใต้บังคับบัญชาของใคร ไม่ต้องมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ทั้งทางด้านการเงินและสังคม สามารถรับงานได้หลายงานถ้าสามารถทำไหว และถ้ามีชื่อเสียงจะทำให้รายได้ดีกว่าการทำงานประจำด้วยซ้ำ ทำให้สามารถขยายธุรกิจได้ไกลออกไปมากขึ้น จนบางคนก็ตั้งเป็นบริษัทของตัวเองขึ้นมาในที่สุด รวมทั้งบางคนก็อยากทำอาชีพฟรีแลนซ์ที่เป็นงานตามความฝันของตนเองด้วยเช่นกัน

ข้อเสียของการเป็นฟรีแลนด์

การเป็นฟรีแลนซ์ มีข้อเสียคือ งานไม่แน่นนอน บางครั้งมี บางครั้งไม่มี และบางอาชีพก็ขึ้นอยู่กับ

เทศกาลด้วย ซึ่งมีผลทำให้มีรายได้ไม่แน่นอนตามมา  ต้องรับผิดชอบด้วยตนเองทุกย่าง ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจ การแก้ไขงาน การลงทุน และอาจถูกโกงจากคนจ้างได้ง่าย และยังไม่ได้รับผลประโยชน์  หรือสวัสดิการอื่นๆ เหมือนกับการทำงานประจำ เป็นลูกจ้างในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ เช่น โบนัส ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การมีสังคมในที่ทำงาน การได้รับการอบรมพัฒนาอาชีพ

ขาดประสบการณ์จากการทำงานโดยที่ตนเองไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ใช้เพียงความสามารถ แรงงาน

และสติปัญญาของตนเองเท่านั้น

แล้วต้องพิจารณาอย่างไรว่าควรทำอาชีพฟรีแลนซ์ หรือไม่     

ถ้าทำงานประจำอยู่แล้ว อยากลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์ก็ต้องศึกษาข้อมูล โดยพิจารณาจาก

ข้อดี ข้อเสียของการเป็นฟรีแลนซ์ให้ดีก่อน เพราะอาชีพฟรีแลนซ์ ก็เหมือนกับทุกอาชีพ ที่มีทั้งที่ทำแล้วประสบผลสำเร็จ และทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขหลาย ๆ อย่าง เช่น  ประเภทธุรกิจ ความสามารถความเป็นมืออาชีพของตนเอง ความต้องการของตลาด ความมีชื่อเสียง

ทำเลแหล่งที่ตั้ง เทคโนโลยี หรือแม้แต่ความโชคดี หรือโชคไม่ดี ฯลฯ

บางคนบอกถ้าลาออกจากงานประจำมาทำฟรีแลนซ์ แล้วไม่ประสบผลสำเร็จก็อาจจะตกงาน

ไม่มีอาชีพ ก็แนะนำว่ายังไม่ต้องลาออกจากงาน แต่ให้ลองทำงานฟรีแลนซ์ควบคู่ไปกับงานประจำก่อน โดยให้รับทำงานฟรีแลนซ์ในช่วงวันหยุด หรือช่วงที่มีเวลาว่างสักระยะหนึ่ง ก็จะเห็นว่าผลลัพธ์มันเป็นอย่างไร เช่น ถ้าทำแล้วเห็นลู่ทางมันไปได้ดีกว่างานประจำแน่นอน ก็ค่อยลาออกจากกงานประจำมาทำฟรีแลนซ์เต็มตัว แต่ถ้าทำแล้วเห็นปัญหา อุปสรรค แก้ไขแล้วก็ยังไม่ได้ ทำต่อไปเจ๊งแน่นอน มีแต่ขาดทุน เข้าตัว เสียเวลา ก็เลิกทำฟรีแลนซ์ โดยที่เราจะไม่ตกงานเพราะยังมีงานประจำรองรับอยู่

 

 

ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ กับชีวิตติด Co-Working Space เข้างานเมื่อตื่น เลิกงานเมื่อไหร่ก็ได้

เมื่อความสะดวกสบายเขยิบเข้ามาใกล้กับชีวิตเราในทุกด้าน เพียงแค่หยิบมือถือหรือโน๊ตบุ๊คขึ้นมาทำงานที่ได้รับมอบหมาย การเข้างานแปดโมงเลิกงานห้าโมงเย็น ก็แทบจะเป็นวิถีชีวิตแบบเก่าที่ไม่มีใครทำไปซะแล้ว คนรุ่นใหม่ต้องการอะไรที่ตอบโจทย์ความสบายมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งการฉีกกฎของเวลาการเข้างาน นั่นจึงทำให้เกิด Co-working space ขึ้นเป็นดอกเห็ดในสังคมเมืองหลวงของประเทศไทย จากข้อมูลของภาควิชาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ให้ข้อมูลไว้ว่าในปี 2558 จำนวนธุรกิจ Co-Working Space เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีมากกว่า 40 แห่ง และในปัจจุบันก็น่าจะมีมากกว่าร้อยแห่งแล้ว นี่เป็นจำนวนที่บ่งบอกว่า ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะมีอิสระในการทำงาน ที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ที่เป็นออฟฟิศหลักมากขึ้นเรื่อย ๆ

ศูนย์รวมของคนที่ใช่ แหล่งค้นพบมิตรภาพใหม่ ๆ

เมื่อสถานที่อย่าง Co-Working space ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์เรื่องของสถานที่ทำงานนอกออฟฟิศ แต่อาจสร้างโอกาสในการพบเจอกับเพื่อนใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เดียวกัน หรือทำธุรกิจที่เสริมกันได้ ก็อาจเป็นประโยชน์อีกด้าน ที่ทำให้ลูกค้าชื่นชอบการเข้ามานั่งทำงานในพื้นที่ทำงานร่วมกันนี้ เพราะลักษณะของกลุ่มผู้ใช้บริการ Co-Working space คือกลุ่มคนที่สามารถบริหารจัดการเวลาของตัวเองได้ ไม่โดนบังคับการเข้างาน หรือมีความยืดหยุ่นในการทำงานนั่นเอง ซึ่งโดยส่วนมากจึงเป็นกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระ อย่าง Startup หรือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจและมีความริเริ่มที่จะลงมือสร้างกิจการของตนเอง กลุ่มคนประเภทนี้มักจะใช้เวลาอยู่ที่ Co-Working space นานมาก เพราะต้องการพื้นที่ในการระดมความคิด นัดเจอกลุ่มเพื่อนที่ประกอบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หรือนัดพบที่ปรึกษาของตน เพื่อพัฒนาไอเดียทางด้านธุรกิจกันอย่างเข้มข้น หรืออย่าง กลุ่มคนทำงานฟรีแลนซ์ ก็มักมาเป็นลูกค้าประจำ เพราะนอกจากพื้นที่ในการทำงานที่มีให้แล้ว Co-Working space บางแห่ง ก็มีบริการที่ครบถ้วน คือ มีตั้งแต่ อาหารเช้า ไปจนถึง อาหารค่ำ น้ำ นม ขนม มีพร้อม เรียกได้ว่าอยู่ด้วยกันไปได้ยาว ๆ จนกว่างานจะเสร็จได้เลย

รูปแบบและแนวทางของธุรกิจ Co-Working space จึงเรียกได้ว่าก่อตั้งมาตอบรับกระแสและอาชีพของคนรุ่นใหม่ได้อย่างลงตัว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขยายตัวของธุรกิจนี้ ก็ทำให้เกิดการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจขึ้นมากเช่นกัน ทำให้แต่ละแห่งต้องมีการลงทุนในการตกแต่งสถานที่เพื่อดึงดูดลูกค้า หรือจัดโปรโมชั่นลดราคากันมากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่รักความอิสระในการทำงานนั่นเอง